วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่างรูปแบบการสอน

 🐳   ตัวอย่างรูปแบบการสอน   🐳


🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬🐬


🐳 ตัวอย่างรูปแบบการสอน : วิธีการสอนบูรณาการปฐมวัย 🐳





          วิธีการสอนแบบบูรณาการ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ดังเช่นในคลิปวีดิโอ ที่มีกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ทำอย่างหลากหลาย มีทั้งการเล่นเกม การได้สัมผัสของจริง การเปรียบเทียบ การนับจำนวน การทำอาหาร เป็นต้น 



กำหนดระยะเวลาใน การจัดกิจกรรมประจำวัน



          เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติ ต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย โดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจ ในหนึ่งสาระเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากหลายกิจกรรม และหนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะ หลายประสบการณ์สำคัญ


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ปฐมวัย


🐋 บทบาทของครู

          สำรวจประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก ควรคำนึงว่าธรรมชาติของเด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ครูต้องให้เวลาในการเรียนรู้สำหรับเด็ก 


🐋 บทบาทของผู้เรียน 

          เด็กจะเป็นผู้เลือกและค้นหาวิธีการเรียนในแบบที่ตนเองชอบโดยครูไม่ต้องบังคับ ครูเพียงแค่มีหน้าที่ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเท่านั้น 


🐋 ประโยชน์ของการสอนแบบบูรณาการ 

          ทำให้เด็กเข้าใจเนื้อหาที่ครูต้องการสอน เมื่อเด็กได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบก็จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กนั้นดีตามไปด้วย เด็กสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริงอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 


4 เรียงลำดับสี




วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย

🍏  สรุปงานวิจัย  🍏



🍏วิจัย : รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถ🍏

🍏 ทางการฟัง – พูด ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 🍏



💚 วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 

          เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการฟัง – พูด ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ขั้นตอนการวิจัย และ พัฒนาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ

         🌵 ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์พิจารณาจากผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจของครูปฐมวัย

         🌵 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดี่ยววัดผลหลังการทดลอง





💚 กลุ่มตัวอย่าง :

          เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลหนองบัว จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง


💚 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : 

          แบบทดสอบความสามารถทางการฟัง - พูด ภาษาอังกฤษ แบบวัดความพึงพอใจของครูปฐมวัย


💚 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล :

          ความถี่การวิเคราะห์เนื้อหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

 

4 เรียงลำดับสี


💚 ผลการวิจัย พบว่า :

          1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดประสบการณ์ การประเมินผล ซึ่งมี 3 ขั้น คือ ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation)  ขั้นการฝึก (Practice) และขั้นการนำไปใช้ (Production) โดยมีผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยมีคุณภาพของรูปแบบจากผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุดและความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ บูรณาการ อยู่ในระดับมาก

 

          2. นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ มีความสามารถทางการฟังและความสามารถทางการพูด ภาษาอังกฤษสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ75 ของแต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Internet เบื้องต้น - อัจฉรี สาสนะกูล 2/1

สรุปบทความ


🍎  สรุปบทความ   🍎


🍎 เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน : กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย 🍎 

(เรื่อง : ชลิตา สุนันทาภรณ์)



          ลักษณะหนึ่งของความเป็นเด็กคือ การเล่น (Playfulness) โดยเฉพาะช่วงปฐมวัย การจับเด็กเล็กให้นั่งเฉยๆ เป็นชั่วโมงเพื่อท่องตัวหนังสือ หรือบวกบลเลขเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับวัยของพวกเขา เนื่องจากช่วงวัยดังกล่าว "การเล่น" ส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็กแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญาหรืออารมณ์ ทั้งส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ และเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาเปิดโลกจินตนาการให้กว้าง  

          งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยดีคิน (Deakin University) ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย คือ Play - based Learning หรือ กระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่น ซึ่งทีมวิจัยพบว่าการเรียนแบบดังกล่าวนั้นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ทางวิชาการของเด็กปฐมวัยให้ดีขึ้น 



🍎  กระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play - based Learning) คืออะไร  🍎

          Play - based Learning เป็นการะบวนการเรียนการสอนที่มุ้งเป้าหมายไปที่การสอนและการเรียรู้ ความหมายของคำว่า "เล่น" หมายถึง การเรียนอย่างอิสระ โดยเด็กๆ เป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองตามธรรมชาติของพวกเขา หรือการเล่นที่ได้รับการชี้นำ (Quide play) และมีครูเป็นผู้ร่วมเล่น (co-player) ในแต่ละกิจกรรมนั้นๆ 



🍎  เด็กได้อะไรจากการเล่น   🍎 

          การเล่นเป็นการเปิดทางให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการะบวนการคิดขั้นสูง เป็นความรู้ไม่ติดกรอบ ยืดหยุ่น มีทั้งการแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์และนำความรู้ต่างๆ ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทุกขั้นตอนต้องลงมือทำด้วยตัวเอง

          นอกจากด้านการเรียนรู็แล้ว การเล่นยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะสังคมไปในตัวผ่านการเล่น เช่น การมีส่วนร่วม การแบ่งปัน การระดมสมอง