🍎 สรุปบทความ 🍎
🍎 เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน : กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย 🍎
(เรื่อง : ชลิตา สุนันทาภรณ์)
ลักษณะหนึ่งของความเป็นเด็กคือ การเล่น (Playfulness) โดยเฉพาะช่วงปฐมวัย การจับเด็กเล็กให้นั่งเฉยๆ เป็นชั่วโมงเพื่อท่องตัวหนังสือ หรือบวกบลเลขเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับวัยของพวกเขา เนื่องจากช่วงวัยดังกล่าว "การเล่น" ส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็กแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญาหรืออารมณ์ ทั้งส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ และเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาเปิดโลกจินตนาการให้กว้าง
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยดีคิน (Deakin University) ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย คือ Play - based Learning หรือ กระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่น ซึ่งทีมวิจัยพบว่าการเรียนแบบดังกล่าวนั้นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ทางวิชาการของเด็กปฐมวัยให้ดีขึ้น
🍎 กระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play - based Learning) คืออะไร 🍎
Play - based Learning เป็นการะบวนการเรียนการสอนที่มุ้งเป้าหมายไปที่การสอนและการเรียรู้ ความหมายของคำว่า "เล่น" หมายถึง การเรียนอย่างอิสระ โดยเด็กๆ เป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองตามธรรมชาติของพวกเขา หรือการเล่นที่ได้รับการชี้นำ (Quide play) และมีครูเป็นผู้ร่วมเล่น (co-player) ในแต่ละกิจกรรมนั้นๆ
🍎 เด็กได้อะไรจากการเล่น 🍎
การเล่นเป็นการเปิดทางให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการะบวนการคิดขั้นสูง เป็นความรู้ไม่ติดกรอบ ยืดหยุ่น มีทั้งการแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์และนำความรู้ต่างๆ ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทุกขั้นตอนต้องลงมือทำด้วยตัวเอง
นอกจากด้านการเรียนรู็แล้ว การเล่นยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะสังคมไปในตัวผ่านการเล่น เช่น การมีส่วนร่วม การแบ่งปัน การระดมสมอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น