วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

 17  สิงหาคม  2563

🍇  บันทึกการเรียนครั้งที่ 1  🍇

🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


🍇  ความรู้ที่ได้รับ  🍇


          วันนี้อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามโรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการสอน จากนั้นอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เก่า โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมการสอนต่างๆ ว่ามีนวัตกรรมการสอนอะไรบ้างที่เรารู้จัก 



🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


🍇 นวัตกรรมการสอน 🍇


  

   

💜 การสอนแบบโครงการ (Project Approac )

     เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็ก

🍆 โครงสร้างของการสอนแบบโครงการ   มีดังต่อไปนี้

 1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)

 2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)

3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)

4. การสืบค้น (Investigation)

5. การจัดแสดง (Display)

🍆 โครงการมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก

ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ

ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ





💜 การสอนแบบไฮสโคป

          ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)  นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป จึงเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

 


โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ Waldorf : Inspired by LnwShop.com


💜 การศึกษาวอลดอร์ฟ 


          คือการช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตน การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างสมดุลใน สาม วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลกคือผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกและผ่านการคิด

            ดังนั้น การศึกษาวอลดอร์ฟจึงมุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนและให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะและด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะนั่นเอง
 
🍆 หลักการจักการศึกษา
            การศึกษาต้องพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ด้วยการพัฒนาให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมการสอนต้องเน้นให้เด็กคิด จนเกิดปัญญา เห็นสัจธรรมและความจริงในโลก ต้องพัฒนาร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันโดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย(ลงมือกระทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง (ความคิด ) โดยยึดหลัก ดังต่อไปนี้

1. การทำซ้ำ ( Repetition) เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตจนเป็นนิสัย

2. จังหวะที่สม่ำเสมอ( Rhythm ) กิจกรรมในโรงเรียนต้องเป็นไปตามจังหวะสม่ำเสมอเหมือนลมหายใจเข้า – ออก ยามจิตใจสงบและผ่อนคลาย เด็กจะได้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัย

3. ความเคารพและการน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง (Reverence) กิจกรรมและสื่อธรรมชาติที่จัดให้เด็กเพื่อให้เด็กเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆที่เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆจะเป็นแก่นของจริยธรรมตลอดชีวิตของเด็ก





ติดแผ่นภาพที่มีคำศัพท์ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในบ้านหรือโรงเรียน

💜 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach )


          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ หรือแบบองค์รวม มีแนวคิดคือ การที่เด็กได้อ่านเขียน เช่นเดียวกับที่เด็กหัดพูด เด็กจะไม่เกิดความเครียด เพราะวิธีการที่เด็กหัดพูดเกิดจากการพัฒนาจากการที่เด็กพูดอ้อแอ้แล้วจึงมาเป็นคำ 2 - 3 คำ แล้วจึงประโยคยาวๆ ดังนั้นในการหัดอ่านเขียน ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กอ่านเขียนโดยการสังเกตและใช้คำพูดตามจุดมุ่งหมาย การสอนภาษาแบบธรรมชาติจึงมุ่งให้เด็กอ่านเขียนเพื่อสื่อความหมาย โดนแนะนำการใช้ภาษาในสถานะการต่างๆ ที่เขาพบเจอในชีวิตประจำวัน






💜 การสอนแบบมอนเตสซอรี่


          มาเรีย มอนเตสซอรี่ เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรนี้ ลักษณะการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เน้นให้เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของเด็ก โดยมีความเห็นว่า เด็ก 0 - 6 ปี เป็นวัยที่มีจิตที่ตื่นตัวมากในการเรียนรู้ จะเป็นในลักษณะของการซึมซับสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกประสาทสัมผัสที่เรียกว่า  Didactic aparatus โดยการสอนจะเน้นการเรียนรู้แบบเป็นรายบุคคลโดยเด็กจะฝึกกระทำกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็รายบุคคล มอนเตสซอรี่ไม่เน้นบทบาทการสอนของครู แต่เน้นบทบาทนการสังเกต การอำนวยความสะดวก การจัดสื่ออุปกรณ์ให้เหมาะสม



🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


          จากนั้นให้แต่ละโรงเรียนเล่าถึงกิจกรรมที่เด็กได้ทำกันในตอนเช้า ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำคือ หลังจากเสร็จ กิจกรรมหน้าเสาธง ควรมีการทำกิจกรรม Home Room เพื่อให้ครูและเด็กได้พบปะพูดคุยกัน อาจะมีการเล่าข่าวในแต่ละวัน หรือ เป็นการที่ครูมอบหมายให้เด็กนำสิ่งที่ตนรักที่สุดมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้แก่เด็ก แล้วจึงค่อยตามด้วย 6 กิจกรรมหลัก 


🍇  6 กิจกรรมหลัก  🍇

ประกอบด้วย

                                                         1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

                                                         2. กินกรรมเสริมประสบการณ์

                                                         3. กิจกรรมเสรี

                                                         4. กิจกรรมสร้างสรรค์

                                                         5. กิจกรรมกลางแจ้ง

                                                        6. กิจกรรมเกมการศึกษา



         จากนั้นอาจารย์ให้ร้อเพลงมือกุมกัน และ เพลงนั่งสมาธิ ของ ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกเพลงไปใช้เก็บเด็กในบริบทต่างๆ


" ครูพูดกับเด็กช้าๆ : เด็กยืนขึ้น ยืนตัวตรงๆ เด็กๆยกมือขวามากุมที่ข้อมือซ้าย แล้วหลับตาลงช้าๆ แล้วครูร้องพลง 

เพลง มือกุมกัน 

มือกุมกันแล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ) 

ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง



เมื่อร้องจบ ครูพูดกับเด็กว่า : ยกมือขวามาไว้ข้างลำตัว แล้วยกมือซ้ายมาวางข้างลำตัว แล้วเด็กๆค่อยๆ ลืมตาขึ้น "

เพลง นั่งสมาธิ 

                                                      นั่งขัดสมาธิให้ดี        สองมือวางทับกันทันที

                                                  หลับตาตั้งตัวตรงสิ        ตั้งสติให้ดี

                                                             ภาวนาในใจ       พุทโธ พุทโธ พุทโธ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเด็ก นั่งสมาธิpng


          จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงาน โดยแจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น และสีกลุ่มละ 1 กล่อง แล้วให้ภายในกลุ่มปรึกษากันเกี่ยวกับ "กิจกกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ" ที่เคยเรียนมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อทุกกลุ่มทำงานที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว  อาจารย์ให้นำของทุกกลุ่มมาวางติดไว้ที่หน้าห้องอย่างเหมาะสม ๆ แล้วอาจารย์ก็สรุป เกี่ยวกับ "กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ"








🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮



🍇 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 🍇

          หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะและทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ 


🍆  วัตถุประสงค์ : 

1. แบบผู้นำผู้ตาม

2. ตามคำบรรยาย

3. ประกอบเพลง

4. ปฏิบัติตามคำสั่ง

5. เพื่อความจำ


🍆  ลักษณะการเคลื่อนไหว :

1. ทิศทาง  ➤ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆ

2. ระดับ  ➤ ต่ำ กลาง สูง ( จากระดับหัวไหล่ )


🍆  รูปแบบการเคลื่อนไหว (การเคลื่อนไหวพื้นฐาน) :

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา ชันขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า


2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ได้แก่ คลาน คืบ คาน เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า ก้าวกระโดด เดินต่อเท้า ลื่นไถล





🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


🍇  การประเมิน  🍇


ประเมินตนเอง :  มีความตรงต่อเวลา และช่วยเพื่อนๆตอบคำถามได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือดี มาเรียนตรงเวลา ช่วยกันตอบคำถามได้อย่างดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาตรงเวลา มีคำถามมากมายให้ได้คิดทบทวน และให้แสดงความคิดเห็น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น