24 สิงหาคม 2563
🌽 บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 🌽
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🌽 ความรู้ที่ได้รับ 🌽
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้ไปปรึกษากันว่าจะจัดกิจกรรมให้เด็กในหน่วยใด โดยการไปศึกษาจากแผนการจัดการเรียนรู้ของรุ่นพี่ ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ได้ปรึกษากันว่าจะจัดกิจกรรมใน "หน่วย ร่างกายของฉัน"
ในวันนี้อาจารย์ให้ไปดูว่า โรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการสอนนั้นได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมหน่วยต่างๆ ไว้ล่วงหน้าอย่างไรบ้าง
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🍋 หลักการในการคิด การเลือกเนื้อหาหรือหน่วยในการสอน
1. เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
⤷ พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งมีลักษณะต่อเนื่อง เหมือนขั้นบันไดที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละขั้นมีความสำคัญ ถ้าขั้นไหนพัฒนาได้ไม่เต็มที่ก็จะส่งผลในขั้นต่อๆไป
2. สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
⤷ ดูจากที่เด็กต้องการที่จะทำ ตามวัยของเด็ก
3. เรื่องที่เด็กสนใจ และส่งผลกับตัวเด็ก
⤷ ดูจากสิ่งที่เด็กให้ความสนใจ และสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สิ่งที่มีผลกับตัวเด็กในชีวิตประจำวัน
🍋 การจัดประสบการณ์
🍍 มีความสอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก
🍍 เด็กได้ลงมือทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
🍍 เด็กได้เคลื่อนไหว สังเกต เล่น สังเกต สิบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
🍍 ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความรู้
🍍 ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
🍍 ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน
🍋 สิ่งที่วัดว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
🍌 การที่เด็กตอบคำถามได้
🍌 เด็กสามารถปฏิบัติจริงได้
🍌 เด็กสามารถอธิบาย ร้องเพลง ทำกิจกรรมได้
จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อเขียนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาคนละ 1 แผน โดนให้ตกลงกันในกลุ่มว่าใครจะรับผิดชอบสอนวันไหน ใครจะสอนเรื่องอะไรในหน่วยที่ตนเองเลือก โดยในกลุ่มต้องมีความสอดคล้องกัน เมื่อทุกคนเขียนแผนของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้จัดเก้าอี้เป็นครึ่งวงกลมเพื่อที่จะให้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตวิธีการสอนของกลุ่มตนเอง โดยจะมีเพื่อนๆ ที่เล่นบทบาทสมมุติเป็นเด็กให้
เมื่อเพื่อนกลุ่มแรกทำการสาธิตการสอนกิจกรรมในแต่ละวันครบทั้งกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ได้แนะนำถึงวิธีการสอนที่ถูกต้อง และเหมาะสม และเสนอแนะวิธีการปรับปรุงให้รูปแบบการสอนในกลุ่มนั้นมีความสอดคล้องกันมากขึ้น และรูปแบบการสอนในแต่ละวันนั้นต้องสอดคล้องกันด้วย
🍋 การสอนทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ขั้นตอนแรก จะเป็นการที่ครูละเด็กพูดคุยถึงข้อตกลง
⤷ กติกากันว่าควรทำอย่างไร ครูจะให้เด็กๆ ทำอะไร
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการให้เด็กหาพื้นที่ของตนเอง
⤷ โดยการหาพื้นที่ของตนเองนั้น จะต้องใช้ร่างกายของเด็กๆ เป็นแกนกลางในการหาพื้นที่ และใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สามารถยื่นออกไปได้ทำเป็นรัศมี เช่น แขน ขา ข้อศอก เป็นต้น แล้วให้เด็กหมุนอวัยวะส่วนนั้นเป็นวงกลม โดยไม่ให้ชนกับเพื่อน
ขัั้นตอนที่ 3 เป็นการเข้าสู่การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
⤷ การเคลื่อนไหวพื้นฐานมีทั้งการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เราสามารถจัดสรรค์ให้เด็กได้ตามต้องการที่จะส่งเสริมเด็กในแต่ละด้าน โดนให้เด็กฟังจังหวะ และ ปฏิบัติท่านั้นตามจังหวะที่ครูเคาะ
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
⤷ การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหานั้นต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น การเคลื่อนไหวพื้นฐานให้เด็ก กระโดด การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหาเป็นการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ คือ ผ้าขาว ครูควรให้เด็ก ๆ กระโดดตามจังหวะที่เคาะ พร้อมทั้งโบกผ้าตามจินตนาการไปรอบๆห้อง เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5 เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
⤷ สามารถสอนตามแผนของเราได้เลย ถ้าสัมพันธ์กับเนื้อหาได้ยิ่งดี
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🌽 การประเมิน 🌽
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก มีการสอดแทรกเทคนิคเล็กๆน้อยในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กซึ่งเป็นประโยชน์มาก และอาจารย์ได้แนะนำถึงการปรับรุงการการให้มีความสัมพันธ์กันให้เข้าใจมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการเรียน และให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติ ส่วนเพื่อนที่ทำหน้าที่สอน ก็ทำได้ดีและตั้งใจ
ประเมินตนเอง : เรียนอย่างมีความสุข และสนุกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือกับเพื่อนเป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น