วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 14 กันยายน 2563

👑 บันทึกการเรียนรู้ครั้้งที่ 4 👑





🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁





👑 ความรู้ที่ได้รับ 👑


          วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนร้องเพลงที่เกี่ยวกับเด็ก เพื่อที่จะฟังจังหวะ และ ทำนองเพลง ซึ่งการที่เราร้องเพลงกับเด็กเราต้องให้ความสำคัญกับทำนอง และ จังหวะ เนื่องจากการที่จะทำให้เด็กสนุกได้ คุณครูต้องสนุกด้วย จากนั้นอาจารย์ได้แนะนำการใส่ทำนองเพลงในแต่ละเพลง และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหาเพลงที่สอดคล้องกับหน่วยของตนเองไว้เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก




          กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอกิจกรรมศิลปะที่อาจารย์ได้มอบหมายงานไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยแต่ละกลุ่มได้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยดังนี้ หน่วยร่างกาย สัตว์น้ำ อาหารดีประโยชน์ ฝน ผีเสื้อ เมืองไทย








🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁





👑 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 👑


          เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การแกะ ตัด ปะ การพิมพ์ภาพ หรือวิธีอื่น ที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่น  การเป่าสี ปั้นดินน้ำมัน เป็นต้น

          

💡 จุดประสงค์

⤷   1.ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ

⤷   2.ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด

⤷   3.ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือ และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

⤷   4.ส่งเสริมการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

⤷   5.ส่งเสริมคุณธรรมในด้านความอดทน การรอคอย ความรับผิดชอบ และความมีวินัยในตนเอง

⤷   6.ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

⤷   7.ฝึกทักษะการสังเกต การคิดและการแก้ปัญหา


💡 ตัวอย่างกิจกรรม 

💛 กิจกรรมประดิษฐ์ตู้ปลา 

 



          เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะที่นำไปสู้การออกแบบ มีการบอกตำแหน่ง การบอกถึงที่อยู่อาศัยของสัตว์ สามารถบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระทางคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์


💛 การพิมพ์ภาพจากผลไม้

 



          ผลไม้ในแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง รูปทรง รวมทั้งขนาดของผลไม้ก็มีความแตกต่างกัน ผลไม้ชนิดเดียวกันถ้าทำการผ่านในทิศทางที่แตกต่างกัน ก็ทำให้เห็นถึงรูปร่างและรูปทรงที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กได้เรียนรู้ในรูปร่างของผลไม้ที่หลากหลาย 



💛 การใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายในการระบายสี

 



           การใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่นในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายสีที่มีความหลากหลาย มีทั้ง สีไม้ สีเทียน พู่กัน คัตตอนบัด สำลี เป็นต้น 



🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁🎁



👑 การประเมิน 👑


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้การแนะนำในการหากิจกรรม ให้เทคนิคในการร้องเพลงที่มีความน่าสนใจ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจในการทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 






วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

 31 สิงหาคม 2563

🐙  บันทึกการเรียนครั้งที่ 3  🐙


BearPlease: Big Text | สติกเกอร์, แอนิเมชั่น



🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑





🐙  ความรู้ที่ได้รับ  🐙


          จากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้ทุกคนเขียนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือออกมาสอนตามแผนของตนเอง แต่ก่อนที่จะทำการสอนนั้น อาจารย์ ได้พูดคุย ซักถามและทำกิจกิจกรรม ก่อนที่จะทำการสาธิต 


          อาจารย์ให้จักเก้าอี้เป็นครึ่งวงกลม จากนั้นอาจารย์ให้ทุกคนแนะนำตัวเป็นชื่อของตนเองโดนแนะนำเป็นการทำเสียงจากอวัยวะในร่างกายของเราในแต่ละพยางค์ โดยส่วนแรกสามารถใช้อวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย ส่วนที่ 2 ห้ามใช้มือกระทบกันในการเกิดเสียง และ ส่วนสุดท้าย ห้ามใช้เท้า ในการทำให้เกิดเสียง กิจกรรมนี้ จะช่วย พัฒนากระบวนการคิดของเด็ก ช่วยสมองส่วนหน้าของเด็กได้ทำงาน ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์เดิมเข้ากับปัจจุบัน หรือเป็นการ พัฒนา EF ของเด็ก 



🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑



🐙  EF ( Executive Function )  🐙


          EF ( Executive Function ) ศักยภาพสมองที่ทุกคนมีมาแต่เกิด ทักษะสมอง EF ( Executive Function ) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิด ยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ตนเองได้ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถตัดสินแก้ปัญหาต่างๆ วางแผนจัดการงานต่างๆ ได้สำเร็จลุล่วง 


🐠 EF ( Executive Function ) ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่ 

🍊 ทักษะการจำเพื่อใช้งาน ( Working Memory )

          ⤷   การได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 


🍊 ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง ( Inhibition )

          ⤷   การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใคควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ


🍊 ทักษะยืดหยุ่นทางความคิด ( Shift / Cognitive Flexibility )

          ⤷   ทักษะที่ช่วยให้รู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาตามแต่ละสถานการณ์


🍊 ทักษะควบคุมอารมณ์ ( Emotional Control )

          ⤷    รู้จักควบคุมอารมณืตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่าย


🍊 ทักษะจดจ่อใส่ใจ ( Focus / Attention )

           ⤷   การฝึกสมาธิ ไม่วอกแวก


🍊 ทักษะติดตามประเมินตนเอง ( Self - Monitoring )

          ⤷   รู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง 


🍊 ทักษะริเริ่มและลงมือทำ ( Initialing )

          ⤷   ฝึกให้กล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ ๆ


🍊 ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ ( Planning and Organizing )

          ⤷   เป็นการฝึกให้รู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเอง


🍊 ทักษะมุ่งเป้าหมาย ( Goal - Directed Persistence )

          ⤷   ช่วยให้ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ต่างๆ ตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จ




🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑



         



          จากนั้น อาจารย์ให้เต้นประกอบเสียงคนตรี "เพลง Chicken Dance" ตามจินตนาการของเราเอง จากนั้น อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 7 คน เพื่อช่วยกันคิดท่าประกอบเสียงดนตรี จากนั้นอาจารย์ให้ลุกยืนเต้นให้เพื่อนๆ ดูทีละกลุ่ม แล้วอาจารย์จึงให้ท่าประกอบ  กิจกรรมนี้ เป็นการสอนให้เด็กฟังเสียงจังหวะที่แตกต่างกัน โดนใช้ความแตกต่างของจังหวะในการปรับเปลี่ยนท่าทางประกอบเพลง






          จากนั้นอาจารย์ให้กลุ่มที่จะสาธิตวิธีการสอนออกมาสาธิต และให้เพื่อนๆ แสดงบทบาทสมมติเป็นเด็กให้ เมื่อทำการสาธิตครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมและการสอนได้อย่างเหมาะสม ในการทำกิจกรรม ถ้าเราได้สอนกิจกรรมเคลือนไหวพื้นฐาน เราสามารถสอนให้สอดคล้องกันได้ เช่น   
          วันจันทร์ ให้เด็กกระโดด 
          วันอังคาร ให้เด็กกระโดดไปข้างหน้า และข้างหลัง 
          วันพุธ  ให้เด็กกระโดดไปข้าง ๆ 
          วันพฤหัสบดี ให้เด็กคิดเอาเองว่าจะกระโดดไปในทิศทางไหน โดยครูใช้คำสั่งว่า "เปลี่ยน" เพื่อให้เด็กๆได้เปลี่ยนทิศทางเองตามจินตนาการ โดยที่ครูไม่ต้องกำหนดว่าไปในทิศทางใด การที่เด็กได้เลือกปละปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นการช่วยพัฒนาในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก












"...ตัวเราเองก็เช่นกัน การที่เรามีความคิดสร้างสรรค์ เกิดจาการที่เรามีตัวเลือกมากมาย มีกิจกรรมให้เลือกทำที่หลากหลายและได้ลงมือทำ การที่ลงมือทำ ทำให้เรารู้จักข้อผิดพลาด เพื่อนำมาปรับปรุง เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้..."





🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑



🐙  การประเมิน  🐙



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ มีเทคนิคใหม่ๆ มาเสนอตลอด และคอยใช้คำถามกระตุ้นตลอด

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม อาจมีติดเล่นเกินไปบ้าง และยังขาดการกล้าแสดงออกและการเตียมพร้อม

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมและทำหน้าที่ของตนเองได้ดี 









            



บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

 24 สิงหาคม 2563


🌽  บันทึกการเรียนครั้งที่ 2  🌽




🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻





🌽  ความรู้ที่ได้รับ  🌽


          เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้ไปปรึกษากันว่าจะจัดกิจกรรมให้เด็กในหน่วยใด โดยการไปศึกษาจากแผนการจัดการเรียนรู้ของรุ่นพี่ ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ได้ปรึกษากันว่าจะจัดกิจกรรมใน "หน่วย ร่างกายของฉัน"


          ในวันนี้อาจารย์ให้ไปดูว่า โรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการสอนนั้นได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมหน่วยต่างๆ ไว้ล่วงหน้าอย่างไรบ้าง 



🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🍋  หลักการในการคิด การเลือกเนื้อหาหรือหน่วยในการสอน 

1. เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

          ⤷   พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งมีลักษณะต่อเนื่อง เหมือนขั้นบันไดที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละขั้นมีความสำคัญ ถ้าขั้นไหนพัฒนาได้ไม่เต็มที่ก็จะส่งผลในขั้นต่อๆไป 


2. สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก 

          ⤷   ดูจากที่เด็กต้องการที่จะทำ ตามวัยของเด็ก 


3. เรื่องที่เด็กสนใจ และส่งผลกับตัวเด็ก 

          ⤷   ดูจากสิ่งที่เด็กให้ความสนใจ และสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สิ่งที่มีผลกับตัวเด็กในชีวิตประจำวัน

 

🍋 การจัดประสบการณ์

          🍍 มีความสอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก

          🍍 เด็กได้ลงมือทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

           🍍 เด็กได้เคลื่อนไหว สังเกต เล่น สังเกต สิบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง 

           🍍 ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความรู้

 🍍 ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
 🍍 ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน



🍋 สิ่งที่วัดว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ 

🍌 การที่เด็กตอบคำถามได้ 

🍌 เด็กสามารถปฏิบัติจริงได้ 

🍌 เด็กสามารถอธิบาย ร้องเพลง ทำกิจกรรมได้ 



           จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อเขียนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาคนละ 1 แผน โดนให้ตกลงกันในกลุ่มว่าใครจะรับผิดชอบสอนวันไหน ใครจะสอนเรื่องอะไรในหน่วยที่ตนเองเลือก โดยในกลุ่มต้องมีความสอดคล้องกัน  เมื่อทุกคนเขียนแผนของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้จัดเก้าอี้เป็นครึ่งวงกลมเพื่อที่จะให้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตวิธีการสอนของกลุ่มตนเอง โดยจะมีเพื่อนๆ ที่เล่นบทบาทสมมุติเป็นเด็กให้ 



          เมื่อเพื่อนกลุ่มแรกทำการสาธิตการสอนกิจกรรมในแต่ละวันครบทั้งกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ได้แนะนำถึงวิธีการสอนที่ถูกต้อง และเหมาะสม และเสนอแนะวิธีการปรับปรุงให้รูปแบบการสอนในกลุ่มนั้นมีความสอดคล้องกันมากขึ้น และรูปแบบการสอนในแต่ละวันนั้นต้องสอดคล้องกันด้วย 


🍋  การสอนทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 

ขั้นตอนแรก  จะเป็นการที่ครูละเด็กพูดคุยถึงข้อตกลง 

⤷   กติกากันว่าควรทำอย่างไร ครูจะให้เด็กๆ ทำอะไร 

 

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการให้เด็กหาพื้นที่ของตนเอง 

          ⤷   โดยการหาพื้นที่ของตนเองนั้น จะต้องใช้ร่างกายของเด็กๆ เป็นแกนกลางในการหาพื้นที่ และใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สามารถยื่นออกไปได้ทำเป็นรัศมี เช่น แขน ขา ข้อศอก เป็นต้น แล้วให้เด็กหมุนอวัยวะส่วนนั้นเป็นวงกลม โดยไม่ให้ชนกับเพื่อน 


ขัั้นตอนที่ 3 เป็นการเข้าสู่การเคลื่อนไหวพื้นฐาน

          ⤷   การเคลื่อนไหวพื้นฐานมีทั้งการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เราสามารถจัดสรรค์ให้เด็กได้ตามต้องการที่จะส่งเสริมเด็กในแต่ละด้าน โดนให้เด็กฟังจังหวะ และ ปฏิบัติท่านั้นตามจังหวะที่ครูเคาะ


ขั้นตอนที่ 4 เป็นการเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา 

          ⤷   การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหานั้นต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น การเคลื่อนไหวพื้นฐานให้เด็ก กระโดด การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหาเป็นการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ คือ ผ้าขาว ครูควรให้เด็ก ๆ กระโดดตามจังหวะที่เคาะ พร้อมทั้งโบกผ้าตามจินตนาการไปรอบๆห้อง เป็นต้น


ขั้นตอนที่ 5 เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 

          ⤷   สามารถสอนตามแผนของเราได้เลย ถ้าสัมพันธ์กับเนื้อหาได้ยิ่งดี 




🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌽  การประเมิน  🌽 


ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก มีการสอดแทรกเทคนิคเล็กๆน้อยในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กซึ่งเป็นประโยชน์มาก และอาจารย์ได้แนะนำถึงการปรับรุงการการให้มีความสัมพันธ์กันให้เข้าใจมากขึ้น 

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการเรียน และให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมติ ส่วนเพื่อนที่ทำหน้าที่สอน ก็ทำได้ดีและตั้งใจ 

ประเมินตนเอง : เรียนอย่างมีความสุข และสนุกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือกับเพื่อนเป็นอย่างดี 



user uploaded imageuser uploaded image

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

 17  สิงหาคม  2563

🍇  บันทึกการเรียนครั้งที่ 1  🍇

🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


🍇  ความรู้ที่ได้รับ  🍇


          วันนี้อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามโรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการสอน จากนั้นอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เก่า โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมการสอนต่างๆ ว่ามีนวัตกรรมการสอนอะไรบ้างที่เรารู้จัก 



🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


🍇 นวัตกรรมการสอน 🍇


  

   

💜 การสอนแบบโครงการ (Project Approac )

     เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็ก

🍆 โครงสร้างของการสอนแบบโครงการ   มีดังต่อไปนี้

 1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)

 2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)

3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)

4. การสืบค้น (Investigation)

5. การจัดแสดง (Display)

🍆 โครงการมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก

ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ

ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ





💜 การสอนแบบไฮสโคป

          ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)  นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป จึงเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

 


โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ Waldorf : Inspired by LnwShop.com


💜 การศึกษาวอลดอร์ฟ 


          คือการช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตน การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างสมดุลใน สาม วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลกคือผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกและผ่านการคิด

            ดังนั้น การศึกษาวอลดอร์ฟจึงมุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนและให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะและด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะนั่นเอง
 
🍆 หลักการจักการศึกษา
            การศึกษาต้องพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ด้วยการพัฒนาให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมการสอนต้องเน้นให้เด็กคิด จนเกิดปัญญา เห็นสัจธรรมและความจริงในโลก ต้องพัฒนาร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันโดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย(ลงมือกระทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง (ความคิด ) โดยยึดหลัก ดังต่อไปนี้

1. การทำซ้ำ ( Repetition) เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตจนเป็นนิสัย

2. จังหวะที่สม่ำเสมอ( Rhythm ) กิจกรรมในโรงเรียนต้องเป็นไปตามจังหวะสม่ำเสมอเหมือนลมหายใจเข้า – ออก ยามจิตใจสงบและผ่อนคลาย เด็กจะได้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัย

3. ความเคารพและการน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง (Reverence) กิจกรรมและสื่อธรรมชาติที่จัดให้เด็กเพื่อให้เด็กเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆที่เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆจะเป็นแก่นของจริยธรรมตลอดชีวิตของเด็ก





ติดแผ่นภาพที่มีคำศัพท์ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในบ้านหรือโรงเรียน

💜 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach )


          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ หรือแบบองค์รวม มีแนวคิดคือ การที่เด็กได้อ่านเขียน เช่นเดียวกับที่เด็กหัดพูด เด็กจะไม่เกิดความเครียด เพราะวิธีการที่เด็กหัดพูดเกิดจากการพัฒนาจากการที่เด็กพูดอ้อแอ้แล้วจึงมาเป็นคำ 2 - 3 คำ แล้วจึงประโยคยาวๆ ดังนั้นในการหัดอ่านเขียน ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กอ่านเขียนโดยการสังเกตและใช้คำพูดตามจุดมุ่งหมาย การสอนภาษาแบบธรรมชาติจึงมุ่งให้เด็กอ่านเขียนเพื่อสื่อความหมาย โดนแนะนำการใช้ภาษาในสถานะการต่างๆ ที่เขาพบเจอในชีวิตประจำวัน






💜 การสอนแบบมอนเตสซอรี่


          มาเรีย มอนเตสซอรี่ เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรนี้ ลักษณะการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เน้นให้เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของเด็ก โดยมีความเห็นว่า เด็ก 0 - 6 ปี เป็นวัยที่มีจิตที่ตื่นตัวมากในการเรียนรู้ จะเป็นในลักษณะของการซึมซับสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกประสาทสัมผัสที่เรียกว่า  Didactic aparatus โดยการสอนจะเน้นการเรียนรู้แบบเป็นรายบุคคลโดยเด็กจะฝึกกระทำกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็รายบุคคล มอนเตสซอรี่ไม่เน้นบทบาทการสอนของครู แต่เน้นบทบาทนการสังเกต การอำนวยความสะดวก การจัดสื่ออุปกรณ์ให้เหมาะสม



🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


          จากนั้นให้แต่ละโรงเรียนเล่าถึงกิจกรรมที่เด็กได้ทำกันในตอนเช้า ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำคือ หลังจากเสร็จ กิจกรรมหน้าเสาธง ควรมีการทำกิจกรรม Home Room เพื่อให้ครูและเด็กได้พบปะพูดคุยกัน อาจะมีการเล่าข่าวในแต่ละวัน หรือ เป็นการที่ครูมอบหมายให้เด็กนำสิ่งที่ตนรักที่สุดมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้แก่เด็ก แล้วจึงค่อยตามด้วย 6 กิจกรรมหลัก 


🍇  6 กิจกรรมหลัก  🍇

ประกอบด้วย

                                                         1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

                                                         2. กินกรรมเสริมประสบการณ์

                                                         3. กิจกรรมเสรี

                                                         4. กิจกรรมสร้างสรรค์

                                                         5. กิจกรรมกลางแจ้ง

                                                        6. กิจกรรมเกมการศึกษา



         จากนั้นอาจารย์ให้ร้อเพลงมือกุมกัน และ เพลงนั่งสมาธิ ของ ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกเพลงไปใช้เก็บเด็กในบริบทต่างๆ


" ครูพูดกับเด็กช้าๆ : เด็กยืนขึ้น ยืนตัวตรงๆ เด็กๆยกมือขวามากุมที่ข้อมือซ้าย แล้วหลับตาลงช้าๆ แล้วครูร้องพลง 

เพลง มือกุมกัน 

มือกุมกันแล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ) 

ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง



เมื่อร้องจบ ครูพูดกับเด็กว่า : ยกมือขวามาไว้ข้างลำตัว แล้วยกมือซ้ายมาวางข้างลำตัว แล้วเด็กๆค่อยๆ ลืมตาขึ้น "

เพลง นั่งสมาธิ 

                                                      นั่งขัดสมาธิให้ดี        สองมือวางทับกันทันที

                                                  หลับตาตั้งตัวตรงสิ        ตั้งสติให้ดี

                                                             ภาวนาในใจ       พุทโธ พุทโธ พุทโธ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเด็ก นั่งสมาธิpng


          จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงาน โดยแจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น และสีกลุ่มละ 1 กล่อง แล้วให้ภายในกลุ่มปรึกษากันเกี่ยวกับ "กิจกกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ" ที่เคยเรียนมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อทุกกลุ่มทำงานที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว  อาจารย์ให้นำของทุกกลุ่มมาวางติดไว้ที่หน้าห้องอย่างเหมาะสม ๆ แล้วอาจารย์ก็สรุป เกี่ยวกับ "กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ"








🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮



🍇 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 🍇

          หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะและทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ 


🍆  วัตถุประสงค์ : 

1. แบบผู้นำผู้ตาม

2. ตามคำบรรยาย

3. ประกอบเพลง

4. ปฏิบัติตามคำสั่ง

5. เพื่อความจำ


🍆  ลักษณะการเคลื่อนไหว :

1. ทิศทาง  ➤ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆ

2. ระดับ  ➤ ต่ำ กลาง สูง ( จากระดับหัวไหล่ )


🍆  รูปแบบการเคลื่อนไหว (การเคลื่อนไหวพื้นฐาน) :

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา ชันขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า


2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ได้แก่ คลาน คืบ คาน เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า ก้าวกระโดด เดินต่อเท้า ลื่นไถล





🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮🔮


🍇  การประเมิน  🍇


ประเมินตนเอง :  มีความตรงต่อเวลา และช่วยเพื่อนๆตอบคำถามได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือดี มาเรียนตรงเวลา ช่วยกันตอบคำถามได้อย่างดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาตรงเวลา มีคำถามมากมายให้ได้คิดทบทวน และให้แสดงความคิดเห็น